Digital Economy ในประเทศมาเลเซีย
มาเลเซียริเริ่มนโยบาย Digital Economy ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 โดยวางเป้าหมายให้ Digital Economy มีสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 17 ของ GDP ภายใน ค.ศ. 2020 เพื่อขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกมิติของสังคมเพื่อเชื่อมโยงมาเลเซียกับสังคมโลกที่มีพลวัตได้อย่างทันท่วงที อันนําไปสู่การยกระดับรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนมาเลเซีย การปรับใช้นโยบาย Digital Economy ของมาเลเซียสะท้อนอยู่ในมาตรการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) ที่เรียกว่า “Multimedia Super Corridor (MSC)” ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุน โดยนักลงทุนที่ได้สถานะ MSC จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินเป็นระยะเวลา 10 ปี เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่นําเข้าจากต่างประเทศจะได้รับยกเว้น ภาษีศุลกากร และนักลงทุนสามารถจ้างแรงงานต่างชาติที่มีฝีมือได้อย่างไม่จํากัดจํานวน นอกจากนี้ รัฐบาล มาเลเซียได้ปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารให้ทันสมัย เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อรองรับการขยายตัวของ Digital Economy
นอกเหนือจากมาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศเพื่อพัฒนามาเลเซียไปสู่ Digital Economy แล้ว รัฐบาลมาเลเซียยังคํานึงพลวัตของข้อมูลในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในสังคม จึงตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Date Protection Act 2010 : PDPA) เพื่อป้องกันมิให้ ผู้ประกอบการนําข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปแสวงประโยชน์ในทางมิชอบ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีเป้าหมายในการควบคุมการเก็บรวบรวม เก็บรักษาและเปิดเผยซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากกิจกรรมในเชิงพานิชย์
เมื่อพิจารณาเนื้อหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะพบว่า มาเลเซียมีมาตรฐานในระดับสากลตาม Guidelines Governing the Protection of Privacy and Trans-border Data Flows of Personal Data ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) ที่กําหนดให้การเก็บรวบรวม ข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล รวมถึงกําหนดให้ผู้เก็บรักษาข้อมูลมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ทําลายข้อมูล หรือนําข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบโดยบุคคลที่สาม
เมื่อมาเลเซียมุ่งมั่นที่จะใช้นโยบาย Digital Economy ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กฎหมายคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งในการให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับ ตลาดโลกบน Big Data ที่มีการเคลื่อนย้ายข้อมูลขนาดมหาศาลระหว่างประเทศ ประเทศคู่ค้าตะวันตกไม่สามารถ กีดกันผู้ประกอบการมาเลเซียโดยอ้างมาตรฐานการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลได้ มาเลเซีย จึงเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนหนึ่งที่น่าจับตามองในยุค Digital Economy
Digital Economy ในประเทศเกาหลีใต้
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่เคยฝ่าวิกฤตการณ์เลวร้ายมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศ ผู้นําทางด้านเทคโนโลยีในอันดับต้น ๆ ของโลกประเทศหนึ่ง จนประเทศมหาอํานาจหลาย ๆ ประเทศได้ต่างหันมา ให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของกรณีศึกษาหรือจับมือร่วมเป็นคู่ค้าด้วย คําถามก็คือเหตุใดเกาหลีใต้จึงได้ ประสบความสําเร็จ ทุกวันนี้ Digital Content ของเกาหลีใต้ นอกจากจะโดดเด่นเรื่อง “Korean Wave” หรือ การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมเกาหลีโจมตีโลก อาทิ อุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าด้านละครและเพลงแล้ว เกาหลีใต้ ยังได้ปรับตัวไปสู่ความทันสมัยจาก 20 ปีก่อนมาก
จุดเปลี่ยนสําคัญของเกาหลีใต้ คือ วิกฤตการณ์ต้มยํากุ้งใน ค.ศ. 1997 เกาหลีใต้ได้เปลี่ยนจากเดิมที่ผลิต สินค้าอุตสาหกรรมเป็นสินค้าวัฒนธรรม จึงได้ทําอุตสาหกรรม Korean Wave ขึ้นมาเพื่อหารายได้ทดแทน อุตสาหกรรมเดิม และสร้างแบรนด์ประเทศใหม่ โดยประธานาธิบดีปาร์ค กินเฮ ได้ตั้งกระทรวงใหม่เพื่อส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รัฐบาลได้ดําเนินการเพื่อให้เป็นรูปธรรม อาทิ ตั้งกองทุนสร้างภาพยนตร์จากรายได้ร้อยละ 10 ของค่าบัตรเข้าชม และนําเงินดังกล่าวมาสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ คอยดูแลให้ ร้านคาราโอเกะชําระค่าลิขสิทธิ์ให้ค่ายเพลงเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพลง ช่วยทําบทแปลภาพยนตร์และ วางแผนการตลาดอย่างจริงจังเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ละครเกาหลีไปฉายในต่างประเทศ ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็น ตัวอย่างการส่งเสริมของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังวางโครงข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงทั้งประเทศ
ปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นผู้นําอันดับหนึ่งของโลกในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT-Information Technology) และสื่อดิจิตอล (Digital Media) มีประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากที่สุดในโลก อาทิ กรุงโซล ร้อยละ 98 และจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศร้อยละ 78 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ ของประชากรก็มี การขยายตัวมากที่สุดในโลก ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้นโยบายรัฐที่มุ่งพัฒนา โครงสร้างสื่อดิจิทัล เพื่อสร้างโครงสร้าง หรือฐานใหม่ให้กับเศรษฐกิจที่กําลังมีอนาคตสดใส ความก้าวล้ำด้านไอทีและสื่อดิจิทัลนี้ถือเป็นพาหนะความเร็วสูง ที่พาเกาหลีใต้ให้ทะยานไปข้างหน้าไม่ว่าจะในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา หรือวัฒนธรรม ซึ่งวิสัยทัศน์ที่พุ่ง ทะยานสู่อนาคตนี้นับเป็นรูปแบบหรือโมเดลที่ประเทศไทยน่าติดตาม และนํามาปรับใช้
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยยะสําคัญ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ อาทิ ช่วยให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Samsung และ LG สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในครัวเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่เชื่อมต่อระบบออนไลน์ถึงตัวผู้ใช้สามารถควบคุมทุกอย่างได้แม้ไม่อยู่บ้าน นอกจากนั้นยังผลักดันให้อุตสาหกรรมเกมส์ออนไลน์ขยายตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย ใน ค.ศ. 2013 มียอดส่งออกสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58
ปัจจุบันธนาคารในเกาหลีทุกแห่งได้เสนอบริการออนไลน์และธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือที่รวดเร็ว ส่วนรัฐบาลก็ได้ เพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชนด้วยบริการสาธารณะออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ การชําระค่าบริการ การคํานวณและ ชําระภาษี แถมยังส่งเสริมบริการจากภาครัฐสู่ธุรกิจอีกจํานวนมาก เพื่อสนับสนุนและดึงธุรกิจต่าง ๆ ให้เข้ามาสร้าง กลยุทธ์ควบคู่ไปกับนโยบายรัฐ และนอกจากรัฐบาลเกาหลีใต้จะให้การสนับสนุนเรื่องอินเทอร์เน็ตกับ กลุ่มคนทํางานแล้ว ยังมีจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ และแม่บ้านอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ประชากรโดยรวมของประเทศสามารถเข้าถึงข่าวสารความรู้อย่างรวดเร็ว และเป็นการช่วยกระตุ้นการบริโภคผ่านเทคโนโลยีออนไลน์ภายในประเทศด้วย
นอกจากคอมพิวเตอร์ในบ้านและบนโทรศัพท์มือถือแล้ว สื่อดิจิทัลในเกาหลีใต้ยังได้ขยายตัวไปในพื้นที่ สาธารณะด้วย ยกตัวอย่างเช่น “Digital View” ระบบนําทางแบบ “ทัชสกรีน” (Touch-screen) ในรถไฟฟ้า ใต้ดิน Digital View นี้มาพร้อมกับฟังก์ชันหลากหลาย อาทิ การช่วยคํานวณเส้นทางที่รวดเร็วที่สุด เพียงป้อน จุดตั้งต้นและปลายทาง ผู้โดยสารก็จะรู้ว่าควรขึ้นรถขบวนใด ณ เวลาใด เปลี่ยนรถที่สถานีไหน จึงจะสะดวกที่สุด แถมยังมีแผนที่ดาวเทียมไว้ให้ค้นหาสถานที่เหมือนใน Google earth ด้วย เพิ่มความแม่นยําในการเดินทางขึ้นไปอีก
กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ได้ประกาศว่าใน ค.ศ. 2015 รัฐบาลจะนํา คอมพิวเตอร์ Tablet มาใช้แทนตําราเรียนทั้งหมด โดยจะใช้งบประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปลี่ยน ตําราเรียนต่าง ๆ ให้เป็น e-book และสร้างเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับการศึกษาผ่านระบบ Wi-Fi ในโรงเรียนทั้งหมด โดยรัฐเน้นย้ําว่าให้ใช้ Tablet แบรนด์เกาหลีอย่าง Samsung ในส่วนของเทคโนโลยีนั้นรัฐบาลเกาหลีใต้มีโครงการ Advanced Technology & Design Korea ที่ขึ้นตรงกับ Presidential Council on Nation Branding และ กระทรวงเศรษฐกิจการเรียนรู้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการประชาสัมพันธ์ความสําเร็จของเกาหลีใต้และแบรนด์เกาหลีต่าง ๆ ผ่านบทความชั้นดี ส่งผลต่อการรับรู้และความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติที่จะช่วยกันพัฒนาและช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศในท้ายที่สุด