ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ Digital Economy

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ Digital Economy

การวางรากฐาน Digital Economy ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งหลักๆแล้วเป็นเรื่องของการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานหลักหรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ

ปัจจัยที่ 1:

เรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อ (Connectivity and Technology Infrastructure) ต้องพัฒนาให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ด้วยอัตราค่าบริการที่ไม่แพง สะดวกรวดเร็ว และมีคุณภาพดี ซึ่งหากเทียบกับประเทศฮ่องกงหรือประเทศสิงคโปร์แล้ว ประเทศไทยยังถือว่าล้าหลังอยู่มาก ปัจจุบัน ทุกคนคงยอมรับว่าไม่ว่าจะเป็นระบบการดาวน์โหลดข้อมูล หรือระบบ ความเร็วอินเทอร์เน็ต 3G/4G ของไทยยังคงมีปัญหาด้านความเร็ว การเข้าถึง ค่าบริการที่แพง จากการจัดอันดับ ของสํานักข่าว The Economist ประเทศไทยได้เพียง 3.2 เต็ม 10 ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ได้ 7.5 เต็ม 10

การตั้งหน่วยงาน Broadband แห่งชาติ อาจจะยังไม่สําคัญเท่ากับการวาง Blueprint ด้านเครือข่าย Broadband รวมถึงการผลักดันให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมของภาคเอกชนในการให้บริการ Highspeed Broadband กับภาคประชาชนอย่างทั่วถึง การให้บริการของภาครัฐเพื่อเปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้ น้อยเข้าถึง High-speed Broadband ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างเชิงดิจิทัล และการลดความซ้ำซ้อนของการสร้างเครือข่ายของหน่วยภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะทําให้เราได้เครือข่ายที่มีคุณภาพและประหยัดการลงทุน

ปัจจัยที่ 2:

ปัจจัยที่เป็นตัวกําหนดการลงทุนและพัฒนาด้านดิจิทัลจากภาคเอกชนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ได้แก่ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง และการมีพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคที่ดี แต่เป็นที่ทราบดีว่าประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมืองมาร่วมทศวรรษไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ส่งผลให้เกิดการทํารัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2557 ส่วนพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคของไทยในปัจจุบันก็อ่อนแอมาก ในปี พ.ศ. 2557 เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ในขณะที่หนี้ครัวเรือนในปี พ.ศ. 2557 สูงกว่าร้อยละ 80 ของ GDP เกิดการกระจุกตัวของรายได้ที่สูงมาก ทําให้อํานาจซื้อของตลาดภายในไม่เข้มแข็ง พื้นฐานเศรษฐกิจและการเมืองเช่นนี้ไม่ใช่บรรยากาศที่ดีในการขยายการลงทุนของภาคเอกชน

ปัจจัยที่ 3:

ปัจจัยด้านการศึกษา คุณภาพการศึกษาของประเทศจะเป็นอีกปัจจัยในการวางฐานเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากการศึกษาเป็นเงื่อนไขสําคัญอย่างหนึ่งที่นําไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดจากอินเทอร์เน็ต ทั้งในแง่ความเข้าใจเรื่องของระบบดิจิทัล การใช้โปรแกรมและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตลอดจนในแง่การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเข้าถึงข้อมูล และองค์ความรู้บนโลกออนไลน์ แต่อย่างที่ทราบดีว่าคุณภาพการศึกษาของไทยก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น ประเทศไทยมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาที่ต่ำมาก แต่ที่สําคัญที่สุด คือประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคนิค (Technical Skill) โดยแรงงานของไทยกว่าร้อยละ 50 มีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา

ปัจจัยที่ 4:

รัฐบาลต้องมีแผนดําเนินงานที่ชัดเจน ต้องแสดงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบดิจิทัล (Digital Development Strategy) ให้ชัดเจน อาทิ แผนการปรับปรุง เทคโนโลยีด้านการสื่อสารในอนาคต โครงการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อเป็นการบริการสาธารณะ การมีแผนพัฒนาระบบดิจิทัลที่ชัดเจนของรัฐบาลเพื่อรองรับการมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล จะเป็นตัวแปรสําคัญให้ ภาคเอกชนสามารถกําหนดทิศทางการลงทุน และปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีได้

กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจดิจิทัลจะมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยที่ผ่านมาก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดด้านต่าง ๆ การที่ จะทําเรื่องนี้ให้เกิดผลสําเร็จ จําเป็นจะต้องมีแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น

Business Consultation & Digital Services

เราเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านดิจิทัลที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาปัญหาการตลาดออนไลน์, คิดวิเคราะห์กลยุทธ์แผนธุรกิจ, ออกแบบเว็บไซต์จากการวิเคราะห์ UX/UI, ทำเว็บไซต์, สร้างสื่อวีดีโอและภาพนิ่ง, ออกแบบและดีไซน์แบนเนอร์, รวมไปถึงการโปรโมทด้วย SEO และโฆษณาออนไลน์ผ่าน Facebook หรือ Google เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่กลุ่มเป้าหมาย

ด้วยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์ระดับโลก ทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งการสร้างสรรค์สื่อ พัฒนาเว็บไซต์ และทำการประชาสัมพันธ์การตลาดออนไลน์ผ่านทาง Google, Facebook และโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ

Talented-expert Experiences

Brands with Consultation & Execution

Entrepreneur Brands