ก่อนที่จะมาเป็น Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ประเทศไทยเคยผ่านนโยบายชื่อภาษาอังกฤษที่มีเป้าหมายคล้ายกันมาแล้ว คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบันในชื่อนโยบาย Creative Economy หรือ การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีที่มาจากต่างประเทศเช่นเดียวกับ Digital Economy
คําว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ถูกนํามาใช้เป็นครั้งแรกในหนังสือของ John Howskins ซึ่งให้คํานิยามของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ว่า “การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์” หลังจากนั้นคําว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางในนานาประเทศ
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้คําจํากัดความของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ไว้ว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้ องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่”
แม้ว่าแนวทางเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องการแต่ด้วยความไม่มั่นคงทางการเมืองทําให้การขับเคลื่อนนโยบายเหล่านี้ขาดความต่อเนื่องจนไม่เห็นผลเป็นชิ้นเป็นอัน แต่หากมองกลับในอีกมุมหนึ่งไม่ว่าจะเป็น Creative หรือ Digital Economy นั้น ต่างก็มาจากรากฐานเดียวกันคือ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดย อาศัยองค์ความรู้เป็นพื้นฐาน” เนื่องจากการจะนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจย่อมต้องใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน ทั้งนี้ Creative Economy นั้นมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการผ่านทางนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น หากจะเข้าใจความหมายของ Digital Economy นั้นคือ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการนําเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมวลรวมของประเทศ” นั่นเอง