UNCTAD เปิดตัว Digital Economy Report 2019 ที่กรุงเทพฯ

UNCTAD เปิดตัว Digital Economy Report 2019 ที่กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เลขาธิการ UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development) เดินทางเยือนไทย เพื่อเปิดตัว UNCTAD Digital Economy Report 2019 ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่ง Digital Economy Report (DER) ประจำปี ค.ศ. 2019 เป็นรายงานฉบับแรกของชุดรายงาน (Series) นี้ แทนที่ชุดรายงาน “Information Economy Report” ซึ่งผลิตรายงานเป็นประจำทุก 2 ปี รายงานดังกล่าวจัดทำโดยฝ่าย Science, Technology and ICT, Division of Technology and Logistics (DTL) ของ UNCTAD ที่ได้เลือกจัดงานเปิดตัวรายงานดังกล่าวที่กรุงเทพฯ เป็นที่แรกของโลกใน โดยมี เลขาธิการ UNCTAD เป็นผู้บรรยายสรุปเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว

UNCTAD ตัดสินใจเปลี่ยนจุดเน้นของรายงานมาเป็น DER เพราะเล็งเห็นความสำคัญของ “digital disruption” โดยเฉพาะแนวโน้มความเหลื่อมล้ำของ wealth creation ที่เกิดขึ้นอย่างกระจุกตัวอยู่กับคนส่วนน้อย และมีความจำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องก้าวให้ทันกับเรื่องนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งต้องเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ

ปัจจัยหลักที่ผลักดัน digital economy ได้แก่ (1) ข้อมูลและ platform ดิจิทัลที่เพิ่มทั้งปริมาณและความเร็ว และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 3 เท่าในปี ค.ศ. 2022 (2) การสร้าง digital platforms ที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อน business model ของบริษัทระดับแนวหน้าของโลก นอกจากนี้ Digital divide ระหว่างภูมิภาคยังขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะแอฟริกาและละตินอเมริกาที่มีระดับการพัฒนาในด้านนี้ช้ากว่าภูมิภาคอื่น ส่งผลให้บริษัทและแรงงานที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ digital economy อาจถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง ดังนั้น ปัญหานี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข มิเช่นนั้นจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ขยายตัวมากขึ้น

ทั้งนี้ การประเมินมูลค่า digital economy ถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่มีความสำคัญสูงต่อการออกแบบนโยบายที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ฐานข้อมูลดิจิทัลโดยภาคเอกชนและภาครัฐมีความสำคัญต่อความสำเร็จของ digital economy รัฐบาลจึงต้องช่วยเตรียมความพร้อมให้กับรัฐบาลเองและภาคเอกชน ตลอดจนออกนโยบายเพื่อจัดเก็บภาษีจาก e-commerce และส่งเสริมการกระจายผลประโยชน์จาก digital economy ให้ทั่วถึง โดยเทคโนโลยีสำคัญสำหรับ digital economy ในอนาคต ได้แก่ blockchain, 3D printing, Internet of Things (IOT), 5G, Clouding computing, Automation and robotics และ Al

ในระดับภูมิภาค ปัจจุบันมีมูลค่าของ digital economy อยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.5-15.5 ของ GDP โลก  และมูลค่าของ digital economy ของสหรัฐอเมริกาและจีนรวมกันสูงถึงร้อยละ 40 ของมูลค่า digital economy ของโลก ส่วนเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราส่วนมูลค่า digital economy ต่อ GDP ที่สูงที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน ไอร์แลนด์ และมาเลเซีย

ในขณะที่มูลค่าของ digital platforms ที่ใหญ่ที่สุดของโลก 70 อันดับอยู่ใน สหรัฐอเมริกาและจีน คิดเป็นร้อยละ 90 โดยอยู่ในสหภาพยุโรป (EU) เพียงร้อยละ 4 ส่วนแอฟริกาและละตินอเมริกาคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 นอกจากนี้ digital platforms 7 อย่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Microsoft, Apple, Amazon, Google, Facebook, Tencent และ Alibaba) มีมูลค่าสูงถึงสองในสามของมูลค่าทั้งหมด

ทั้งนี้ Computer services เป็นอุตสาหกรรมย่อยในอุตสาหกรรม ICT ที่มีมูลค่าเพิ่มต่อ digital economy สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำใน computer services ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า ประเทศที่มีมูลค่าเพิ่มในด้านนี้สูงที่สุด 9 อันดับรวมกัน ส่วนอุตสาหกรรมย่อย ICT manufacturing นั้นมีมูลค่าเพิ่มจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นหลักนำโดยจีน

รายงานฯ ยังกล่าวถึงการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เกี่ยวกับ data flows ว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ คาดว่าจะต้องหาทางออกอย่างประนีประนอมระหว่างกลุ่มประเทศที่สนับสนุน free data flow ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ กับกลุ่มประเทศที่ระมัดระวังในประเด็นนี้ ได้แก่ จีน อินเดีย และอาเซียน

สำหรับประเทศไทย มีอัตราส่วนมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม ICT ต่อ GDP เป็นอันดับ 6 ของโลก (10 อันดับแรก ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก และอิสราเอล) และมีมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม ICT เป็นอันดับ 10 ของโลก (10 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมนี เม็กซิโก มาเลเซีย และไทย) โดยคํานวณจากข้อมูลปี 2560

หากวิเคราะห์อุตสาหกรรมย่อยในอุตสาหกรรม ICT ของไทย ระหว่างปี ค.ศ. 2010 – 2017 จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมย่อยด้าน computer services และ telecommunications มีอัตราการการเจริญเติบโต ประมาณร้อยละ 15 และ 5 ตามลําดับ ในขณะที่อุตสาหกรรมย่อยด้าน ICT Manufacturing มีการเจริญเติบโตลดลง ถึงประมาณร้อยละ 10

อย่างไรก็ดี ไทยมีอัตราการเจริญเติบโตของการใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตสูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก (10 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย เม็กซิโก โคลอมเบีย ไทย เวียดนาม และแคนาดา) โดยในปี 2561 อัตราส่วนของบริษัทขนาดใหญ่ (จํานวนพนักงานมากกว่า 250 คน) และบริษัทขนาดเล็กของไทยที่ได้รับการสั่งสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตประมาณร้อยละ 20 และ 10 ตามลําดับ ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย ที่มีอัตราส่วนมากกว่าร้อยละ 60 และ 30 ตามลําดับ

Business Consultation & Digital Services

เราเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านดิจิทัลที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาปัญหาการตลาดออนไลน์, คิดวิเคราะห์กลยุทธ์แผนธุรกิจ, ออกแบบเว็บไซต์จากการวิเคราะห์ UX/UI, ทำเว็บไซต์, สร้างสื่อวีดีโอและภาพนิ่ง, ออกแบบและดีไซน์แบนเนอร์, รวมไปถึงการโปรโมทด้วย SEO และโฆษณาออนไลน์ผ่าน Facebook หรือ Google เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่กลุ่มเป้าหมาย

ด้วยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์ระดับโลก ทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งการสร้างสรรค์สื่อ พัฒนาเว็บไซต์ และทำการประชาสัมพันธ์การตลาดออนไลน์ผ่านทาง Google, Facebook และโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ

Talented-expert Experiences

Brands with Consultation & Execution

Entrepreneur Brands